“ระบบการขนส่ง” นับเป็นปัจจัยหลัก ที่มีบทบาทต่อการพัฒนาของประเทศให้เจริญรุดหน้าเทียบเท่านานาอารยะประเทศ โดยเฉพาะระบบการขนส่งมวลชนระบบรางนั้นในปัจจุบันรัฐบาลให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก จะเห็นได้จากการเดินทางเยือนญี่ปุ่นของคณะรัฐมนตรีเพื่อหารือเรื่องความร่วมมือระบบราง ซึ่งญี่ปุ่นให้ความสนใจที่จะร่วมมือในการพัฒนาขนส่งระบบราง รวมถึงเส้นทาง กทม.- เชียงใหม่ และแม่สอด-มุกดาหาร โดยเป็นการปรับปรุงเส้นทางที่มีอยู่เดิม และจะมีการร่วมกันศึกษาและวิจัยเส้นทาง ได้แก่ เส้นทางกาญจนบุรี-กรุงเทพ, กรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ และกรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง เพื่อเชื่อมโยงโครงข่ายทางรางกับประเทศเพื่อนบ้าน และการศึกษาครั้งนี้ยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการการขนส่งสินค้าทางรางของไทยด้วย นอกจากนี้ยังร่วมมือกันในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯ ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงและโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ส่วนความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน นั้น ในขณะนี้มีความชัดเจนในเรื่องรูปแบบความร่วมมือและการลงทุน ทั้งนี้โครงการรถไฟทางคู่ไทย-จีน จะเริ่มก่อสร้างในเดือนตุลาคม 2558 ในเส้นทางที่ 1 และ 2 กรุงเทพฯ-แก่งคอย และแก่งคอย-มาบตาพุด ส่วนอีก 2 ช่วงคือ แก่งคอย-นครราชสีมา และนครราชสีมา-หนองคาย จะเริ่มก่อสร้างได้ในไตรมาสแรกของปี พ.ศ. 2559
การให้บริการดังกล่าวเป็นไปตามมาตรฐานของการรถไฟแห่งประเทศไทย มาตรฐาน มอก. และมาตรฐาน สากลอื่นๆ อาทิเช่น AREA (American Railway Engineering Association) ของสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
ทั้งนี้ วว. ได้ให้บริการวิเคราะห์ทดสอบด้านระบบราง แก่ผู้ประกอบการรถไฟมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน อาทิเช่น... โครงการประเมินความล้ารอยเชื่อมราง ขนาด 100A (50 kg/m) และ 80A (40 kg/m) ในโครงการปรับปรุงทางระยะที่ 5 และ 6 ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ 1.โครงการประเมินคุณภาพหมอนและเครื่องยึดเหนี่ยวในงานปรับปรุงทางรถไฟ ที่ไม่ปลอดภัยต่อการเดินรถสถานีชุมทางบ้านดารา–สวรรคโลก 2.
ปัจจุบัน วว. ได้รับมอบหมายจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) ให้เป็นหน่วยงานดำเนินการในโครงการความร่วมมือ Thailand-China Joint Research Center on Railway System โดยรับผิดชอบด้านการทดสอบคุณสมบัติทางกล ความแข็งแรง การสั่นสะเทือน ความล้าและความคงทนของชิ้นส่วน อุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในระบบราง เช่น หมอนรถไฟ (sleeper) รางและรอยเชื่อมต่อราง (rail & joint) เครื่องยึดเหนี่ยวราง (fastening) โบกี้ (bogie) และระบบห้ามล้อ (brake) รถไฟ ฯลฯ
นอกจากนั้นยังได้สนับสนุนนโยบายด้านระบบขนส่งทางรางของประเทศ โดยจัดทำ โครงการบริการมาตรฐานการทดสอบและพัฒนาระบบขนส่งทางราง เพื่อจัดตั้ง ศูนย์ให้บริการวิเคราะห์ทดสอบ ประเมินคุณภาพและรับรองความปลอดภัยในการใช้งานชิ้นส่วน อุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในระบบรางอย่างครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน โดยขยายขอบเขตการให้บริการด้านระบบรางต่อยอดจากฐานงานเดิมให้ครอบคลุมทุกระบบ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ ศูนย์พัฒนาและวิเคราะห์สมบัติของวัสดุ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โทร. 0 2577 9000 หรือที่ call center วว. โทร. 0 2577 9300 www.tistr.or.th E-mail :
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน