กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish

รถตัดอ้อยฝีมือคนไทย

พิมพ์ PDF

 

     จากปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะแรงงานในการตัดอ้อย ทำให้ประเทศต้องนำเข้าเครื่องตัดอ้อยจากต่างประเทศในราคาแพงและบางครั้งเครื่องตัดก็ทำงานไม่เหมาะสมกับพื้นที่

         รถตัดอ้อยฝีมือคนไทยมีประสิทธิภาพสูง สามารถตัดอ้อยในสภาพแปลงที่เป็นเนินภูเขาได้ เพราะปีนพื้นที่ลาดชันได้ถึง 35 องศา อีกทั้งมีชุดกลไกเก็บเกี่ยวที่มีประสิทธิภาพไม่ทำให้เกิดการดึงอ้อยออกจากพื้นดิน หรือส่องผลกระทบต่ออ้อยตอที่สอง สามารถตัดอ้อยได้เฉลี่ย 80-100 ตัน/วัน ส่วนเรื่องราคาซื้อขายถือว่าต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับรถที่นำเข้าจากต่างประเทศ จึงส่งผลให้ผู้นำด้านอุตสาหกรรมการเกษตรอ้อยรายใหญ่ของโลก (บราซิล) เชื่อมั่น และสั่งซื้อรถตัดอ้อยฝีมือคนไทยโดยห้างหุ้นส่วนจำกัด สามารถเกษตรยนต์ ได้ดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงชิ้นส่วนของรถตัดอ้อย โดยอาศัยการปรับปรุงกระบวนการผลิตในระดับอุตสาหกรรม ซึ่งแบ่งเป็น 2 โครงการคือ 1) การปรับปรุงกระบวนการผลิตชุดมีดสับท่อน (Chop Bar) และ 2) การปรับปรุงกระบวนการผลิตและประกอบโครงรถตัดอ้อยและรถคีบอ้อย ซึ่งทั้ง 2 โครงการต้องนำเครื่องจักรที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ในการผลิต เพื่อให้ได้ชิ้นส่วนตรงตามที่ออกแบบและสามารถประกอบกับชิ้นส่วนอื่นได้พอดี 

         กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้จัดทำโครงการสนับสนุนการวิจัยพัฒนา และวิศวกรรมภาคเอกชน/สวทช. โดยอนุมัติเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีภาคอุตสาหกรรม ที่ให้ความช่วยเหลือด้านการเงินในรูปแบบเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำแก่เอกชนในภาคอุตสาหกรรม ดังเช่น หจก.สามารถเกษตรยนต์ที่ขอรับการสนับสนุนจาก สวทช. จำนวน 45 ล้านบาท มาใช้ในการพัฒนาชิ้นส่วนของรถตัดอ้อยและปรับปรุงกระบวนการผลิตในระดับอุตสาหกรรม ซึ่งผลจาการอนุมัติเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำของ สวทช. ส่งผลให้ทาง หจก.สามารถเกษตรยนต์ สามารถพัฒนาชิ้นส่วนประกอบรถตัดอ้อยได้เอง จึงลดต้นทุนที่ต้องสั่งซื้อชิ้นส่วนจากต่างประเทศ สำหรับภาคธุรกิจที่สนใจ ร่วมปรึกษาหรือขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โครงการสนับสนุนการวิจัย พัฒนาและวิศวกรรมภาคเอกชน ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) call center 0-2564-8000 หรือ e-mail: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน และ website: www.nstda.or.th/cd 

 

 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป