กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ผลงานกระทรวง งานวิจัย..ใช้ได้จริง นักวิจัยนาโนเทคสกัด “ไขอ้อย” เพิ่มมูลค่าเวชสำอาง-อาหารเสริม

นักวิจัยนาโนเทคสกัด “ไขอ้อย” เพิ่มมูลค่าเวชสำอาง-อาหารเสริม

พิมพ์ PDF

     "อ้อย"พืชล้มลุกที่ทำรายได้จากการส่งออกและจำหน่ายในรูปของน้ำตาลทรายให้ประเทศไทยปีละ 8 หมื่นล้านบาท ทำให้ไทยเป็นผู้ส่งออกผลผลิตจากอ้อยและน้ำตาลเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน ที่สำคัญอ้อยเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจที่อยู่ในงานวิจัยมุ่งเป้าของเครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คบอช.) ซึ่งนักวิจัยไทยต้องค้นคว้างานวิจัยการเพิ่มมูลค่าจากของเหลือทิ้งทางการเกษตรเพื่อก่อให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ ก่อนส่งต่อเทคโนโลยีที่สร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจไปยังภาคเอกชนให้สามารถแข่งขันในเวทีโลกได้

     ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ เปิดเผยถึง ในฐานะที่ประเทศไทยถือเป็นผู้ส่งออกผลผลิตจากอ้อยและน้ำตาลเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน และเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลทรายรายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก สามารถสร้างรายได้จากการส่งออกและจำหน่ายน้ำตาลทรายให้ประเทศไทยปีละ 8 หมื่นล้านบาท และยังเป็นแหล่งสร้างงานแก่เกษตรชาวไร่อ้อยและแรงงานเก็บเกี่ยวอ้อยในชนบทกว่า 6 แสนคน  ด้วยศักยภาพเหล่านี้เอง ศูนย์นาโนเทค ซึ่งเป็นหน่วยที่ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาให้มีศักยภาพสูงขึ้นด้วยนาโนเทคโนโลยี จึงรับสนับสนุนทุนวิจัย จาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ให้ดำเนินโครงการวิจัย การเพิ่มมูลค่าของไขอ้อยที่สกัดจากกากหม้อกรอง โดยพัฒนาเป็นอนุภาคนาโนสตรักเจอร์ลิปิดแคริเออร์และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
     ดร.กิตติวุฒิ เกษมวงศ์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการนวัตกรรมนาโนเพื่อผลิตภัณฑ์อาหารและการเกษตร ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช. และทีมวิจัย ได้ใช้เวลาเพียง 1 ปี ในการศึกษาค้นคว้าเทคโนโลยีการผลิตไขอ้อยจาก "กากหม้อกรอง" วัสดุเหลือทิ้งในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตน้ำตาลทรายปีละกว่า 2 ล้านตัน จากโรงงานน้ำตาล 51 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีแค่การนำไปใช้ประโยชน์เป็นปุ๋ยหรือถมที่ดินโดยเกษตรกรเท่านั้น แต่ "ทีมวิจัยนาโนเทค" ยังได้พยายามคิดค้นและพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าค้นพบสารที่มีคุณประโยชน์จาก "กากหม้อกรอง" นั่นคือ "ไขอ้อย" และนำไปต่อยอดในอุตสาหกรรมเวชสำอางและอาหารเสริมที่มีมูลค่าสูงมาก ซึ่งในขั้นตอนแรกทีมวิจัยได้นำมาสกัดแวกซ์ หรือที่เรียกว่าไขอ้อย และนำไปเพิ่มมูลค่า โดยพัฒนาเป็นวัสดุห่อหุ้มสารสำคัญ เช่น วิตามินอี สารแอนติออกซิแดนต์ (Antioxidant) ใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง นอกจากนั้นแล้วยังพบว่าไขอ้อยยังมีสารโพลิโคซานอล (Policosanal) ที่สามารถลดปริมาณคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจได้ โดยการค้นคว้าวิจัยครั้งนี้ ทีมวิจัยเตรียมต่อยอดผลิต "โพลิโคซานอล" ชนิดแคปซูลพร้อมรับประทาน เพื่อลดการนำเข้าสารโพลิโคซานอลจากต่างประเทศ ซึ่งราคาสูงถึง 2 หมื่นบาท/กิโลกรัมเลยทีเดียว 
    ทั้งนี้ สิ่งที่ทีมวิจัยสามารถทำได้แล้วในขณะนี้ คือ การสกัดไขอ้อยและนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเวชสำอาง ซึ่งไขอ้อยที่สกัดได้เป็นส่วนประกอบสำคัญของเครื่องสำอางทุกประเภท และมีความต้องการในตลาดสูงมาก เนื่องจากไขอ้อยจะเป็นวัสดุห่อหุ้มสารสำคัญในเครื่องสำอาง เสมือนเป็นยานพาหนะขนาดจิ๋วที่จะนำพาสารสำคัญซึมเข้าสู่ผิวหนังได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถือเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพืชเศรษฐกิจอย่างอ้อยให้มีมูลค่าสูงขึ้นอีกปีละ 500 ล้านบาทเลยทีเดียว
นอกจากนี้ ดร.อภิรดา สุคนธ์พันธุ์ รักษาการหัวหน้าห้องปฏิบัติการนาโนเวชสำอาง ศูนย์นาโนเทคฯ เป็นอีกหนึ่งทีมวิจัยที่นำ "ไขอ้อย" ไปต่อยอดใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญของผลิตภัณฑ์ต้นแบบเครื่องสำอาง 2 ชนิด ได้แก่ ลิปสติกบำรุงริมฝีปาก และโลชั่นบำรุงเล็บ ซึ่งจุดเด่นของไขอ้อย เมื่อนำมาเป็นส่วนประกอบสำคัญในเครื่องสำอางนั้น มีคุณประโยชน์และใช้ได้ดีมาก เนื่องจากเล็งเห็นว่าริมฝีปากของคนเราเป็นส่วนที่บอบบาง และมักพบว่ามีปากแห้งปากลอกได้ง่าย จึงพัฒนาลิปสติกบำรุงริมฝีปากที่ใช้เทคโนโลยีการพัฒนาอนุภาคสตรักเจอร์นาโน ลิปิดแคร์ริเออร์ หรือเอ็นแอลซี (NLC) ซึ่งบรรจุวิตามินอีไว้เป็นส่วนประกอบสำคัญในสูตร และพบว่าสูตรลิปสติกจากไขอ้อยมีการกระจายตัวบนผิวได้ดี และมีเนื้อลิปสติกนุ่มกว่าสูตรไขปาล์มคานูบาอีกด้วย
     สำหรับโลชั่นบำรุงเล็บก็เป็นกระแสที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตเช่นกัน "ไขอ้อย" ที่ผ่านการสกัดแล้ว สามารถใช้เพื่อบำรุงเล็บให้เงางามและบำรุงจมูกเล็บ (ผิวหนังอยู่ด้านข้างเล็บ) ให้นุ่มและชุ่มชื้นสุขภาพดีขึ้นด้วยเช่นกัน การนำเอาไขอ้อยมาพัฒนาเป็นอนุภาคสตรักเจอร์นาโน ลิปิดแคร์ริเออร์ หรือเอ็นแอลซี จะมีผนังของอนุภาคที่มีทั้งไขมันแข็งและไขมันเหลว รวมทั้งสารลดแรงตึงผิว เพราะฉะนั้นไขอ้อยที่เป็นไขมันแข็ง เราสามารถนำมาใส่แทนไขมันแข็งชนิดอื่นได้เลย อย่างไรก็ตาม ทีมวิจัยได้มีการทำเปรียบเทียบไขมันทั้งสองตัว คือ ไขจากปาล์มคานูบาและไขอ้อย ซึ่งพบว่าการพัฒนาอนุภาคเอ็นแอลซีที่ใช้กับไขอ้อยนั้นให้ความคงตัวได้มากกว่าไขปาล์มคานูบา และการใช้ไขอ้อยในสูตรตำรับลิปสติกบำรุงฝีปากและโลชั่นบำรุงเล็บ จะช่วยทำให้ผลิตภัณฑ์มีเนื้อสัมผัสที่นุ่มนวลน่าใช้และมักมีการกระจายตัวที่ดีกว่าการใช้ไขปาล์มคานูบา และงานวิจัยนี้มีความพร้อมถ่ายทอดไปยังผู้ประกอบการเพื่อนำสูตรดังกล่าวไปผลิตได้ในเชิงพาณิชย์ได้ในทันที
    นอกจากนี้โครงการวิจัยดังกล่าวยังมุ่งเน้นศึกษาการเตรียมไขอ้อยจากกากหม้อกรองในระดับเทียบเคียงอุตสาหกรรม (Semi-industrial scale) และจัดทำข้อกำหนดเพื่อควบคุมคุณภาพ รวมทั้งได้ประเมินถึงความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และต้นทุนของการผลิตไขอ้อยในเชิงพาณิชย์ด้วย ทั้งนี้เพื่อขยายโอกาสในการเพิ่มมูลค่าเพิ่มและขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้กับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลในประเทศไทยต่อไป

ที่มาของข้อมูล  :  งานประชาสัมพันธ์และสร้างความตระหนัก ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค)  โทรศัพท์ 0 2564 7100 โทรสาร 0 2564 6985 Email : E–Mail: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
เผยแพร่ข้อมูลโดย :  นางสาวนีรนุช  ตามศักดิ์  กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ สป.วท. โทรศัพท์ 02-333-3732
 
 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป