กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก

หมู่บ้านปุ๋ยอินทรีย์

พิมพ์ PDF

หมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : หมู่บ้านปุ๋ยอินทรีย์
 หมู่บ้านแม่ข่ายปุ๋ยชีวภาพบ้านทับทิมสยาม 07 ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
หมู่บ้านแม่ข่ายผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ตำบลพ่วงพรมคร อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
หมู่บ้านแม่ข่ายปุ๋ยชีวภาพเครือข่ายยั่งยืน ตำบลศรีเมืองชุม อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย  (วว.)

ข้อมูลพื้นฐาน
1 หมู่บ้านแม่ข่ายปุ๋ยชีวภาพบ้านทับทิมสยาม 07 ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
หมู่บ้านทับทิมสยาม07 เป็นหมู่บ้านพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี มีพื้นที่1,660 ไร่มี210 ครัวเรือน มีประชากร 668 คน มีอาชีพเกษตรกร มีหมู่บ้านใกล้เคียงจำนวน 22 หมู่บ้าน
จุดเด่นของบ้านทับทิมสยาม07
ประธานกลุ่มมีความเป็นผู้นำ และสมาชิกให้การยอมรับและให้ความร่วมมือในการรับเทคโนโลยีใหม่ กลุ่มสามารถดำเนินการผลิตปุ๋ยได้ 70 ตัน มีมูลค่า  700,000 บาท/ปี สามารถนำมาใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีได้ 100% ทำให้ลดค่าใช้จ่าย     และเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร

     2 หมู่บ้านแม่ข่ายผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ตำบลพ่วงพรมคร อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
หมู่บ้านสี่แยกคลองศิลา เป็นหมู่บ้านที่เกิดจากประชาชนจากจังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดพัทลุงเข้ามาจับจองพื้นที่ทำกินจึงเกิดเป็นหมู่บ้าน “สี่แยกคลองศิลา” หมู่บ้านมีพื้นที่ 6,200 ไร่ มีประชากรจำนวน 1,133 คน มี 258 ครัวเรือน ประชาชนในพื้นที่มีอาชีพเกษตรกร
จุดเด่นของบ้านสี่แยกคลองศิลา
ประธานกลุ่มมีความเป็นผู้นำ และยอมรับเทคโนโลยีใหม่เข้าสู่ชุมชน กลุ่มมีเครือข่ายและมีกิจกรรมการฝึกอบรมอยู่อย่างต่อเนื่องกลุ่มสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ได้ 200 ตัน มีมูลค่า 2,000,000 บาท/ปี ซึ่งปุ๋ยดังกล่าวทดแทนปุ๋ยเคมีได้ทั้งหมด

     3 หมู่บ้านแม่ข่ายปุ๋ยชีวภาพเครือข่ายยั่งยืน ตำบลศรีเมืองชุม อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
กลุ่มเกษตรกรยั่งยืน ก่อตั้งเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2545 โดยมีเป้าหมายที่จะแก้ไขปัญหาของเกษตรกรที่เป็นหนี้ ครอบครัวแตกแยก ปัญหายาเสพติด ประชาชนในเขตตำบลศรีเมืองชม ทีจำนวนทั้งสิ้น 5,066 คน 2,016 ครัวเรือน ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกร

จุดเด่นของกลุ่มเกษตรกรยั่งยืน
ประธานกลุ่มเป็นวิทยากรบรรยายให้กลุ่มสตรีจังหวัดเชียงรายและเคยได้รับรางวัลสตรีดีเด่นแห่งชาติปี2551    กลุ่มมีเครือข่ายจำนวนมากและเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนชาวนา และธนาคารมูลสัตว์ ประกลุ่มเป็นผู้ใฝ่หาความรู้ใหม่ๆ         กลุ่มมีกำลังการผลิตปุ๋ย 170 ตัน มูลค่า 1,7000,000 บาท/ปี

          ทั้งนี้ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย  (วว.) ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นของชุมชน เพื่อสร้างงาน สร้างเงิน สร้างคุณภาพชีวิต ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

 

รายชื่อประชาชนท้องถิ่นที่สามารถให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน / เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
นางพรรณพิมล  ปันคำ               โทรศัพท์ 081-025-5598
นายจำเริญ หนูทอง                   โทรศัพท์ 089-588-1185
นายทศพร  ศรีสละ                   โทรศัพท์ 082-158-1248

 

รายชื่อเจ้าหน้าที่ที่สามารถให้ข้อมูลด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของ วท.
นายสุรพล รัตนกุล    (รักษาการ ผวว.)
นางอัญชลี กมลรัตนกุล  (รองผวว. อช.)
นายสุริยา สาสนรักกิจ  (ผอ.ฝทก.)

 

ผู้ประสานงาน    
นายอัครวัฒน์   อ่อนสดทวีชัย โทร . 02-577-9280-1  โทรสาร . 02-577-6158  Email : อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

 

รายชื่อผู้แทนหมู่บ้านเพื่อรับป้ายแม่ข่าย จากนายกรัฐมนตรี
นายประจวบ  สงหนู                  นายก อบต.พ่วงพรมคร  อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
นางทองคำ อินพรหม                  ผู้ใหญ่บ้านม.2 ตำบลศรีเมืองชุม อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
นายบวรพัฒน์  รุ่งคำ                 นายกอบต.บักดอง  อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

 

 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป