กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก

กลับมาอีกครั้ง กับ “ดาวเคียงเดือน” 19-21 มิถุนายน นี้

พิมพ์ PDF

     กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ชวนล้อมวงชม “ดาวเคียงเดือน” 19-21 มิถุนายนนี้ ช่วงหัวค่ำ ทางทิศตะวันตก หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า หากฟ้าใสเห็นชัดเจนทุกภูมิภาคของประเทศไทย ห้ามพลาด!!! เสาร์ที่ 20 มิถุนายน จะเห็นคล้าย “พระจันทร์ยิ้ม” ดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดีสุกสว่างอยู่ห่างกันประมาณ 6 องศา มีดวงจันทร์เสี้ยวบางๆ อยู่ด้านล่าง เผยเป็นปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ปกติ แต่หาชมยาก ครั้งล่าสุดเกิดเมื่อ 1 ธันวาคม 2551

 

ภาพจำลองปรากกฏการณ์ดาวเคราะห์เคียงเดือนในวันที่ 19 - 21 มิถุนายน 2558
เป็นปรากฏการณ์ที่ดาวศุกร์ ดาวพฤหัสบดี อยู่เคียงดวงจันทร์เสี้ยว มีลักษณะปรากฏที่แตกต่างกันไปในแต่ละวัน
 
     ดร.ศรัณย์  โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 19-21 มิถุนายน 2558 จะเกิดปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือน ในช่วงหัวค่ำทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ครั้งนี้มีดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดี อยู่เคียงดวงจันทร์เสี้ยว ในแต่ละวันจะสามารถสังเกตเห็นรูปแบบปรากฏที่ต่างกัน และที่น่าจับตามองที่สุด คือวันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน เราจะเห็นปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือนที่มีลักษณะคล้ายสามเหลี่ยมด้านเท่า ดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดี อยู่ห่างกันเพียง 6 องศา มองดูคล้ายสองตา และดวงจันทร์ข้างขึ้น 3 ค่ำจะปรากฏเป็นเสี้ยว ตะแคงอยู่ด้านล่างของดาวเคราะห์ทั้งสอง  ดาวศุกร์จะสว่างกว่าดาวพฤหัสบดี และอยู่เยื้องต่ำกว่าเล็กน้อย ปรากฏคล้าย “พระจันทร์ยิ้ม” ให้กับคนไทยตั้งแต่ช่วงหัวค่ำจนถึงประมาณ 3 ทุ่มก็จะตกลับขอบฟ้าไป ช่วงดังกล่าวหากฟ้าใสไม่มีเมฆ จะเห็นได้ด้วยตาเปล่าในทุกพื้นที่ของประเทศไทย แต่ครั้งนี้ดวงจันทร์จะหันด้านมืดตะแคงออกด้านข้าง จึงมีลักษณะต่างจากพระจันทร์ยิ้มครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2551 ดาวเคียงเดือนเป็นปรากฏการณ์ปกติทางดาราศาสตร์ที่สวยงาม น่าสนใจและหาชมได้ไม่บ่อยนัก นับเป็นอีกหนึ่งอีกปรากฎการณ์ดาราศาสตร์ที่น่าสนใจในรอบปีนี้ นอกจากนี้ เรายังสามารถสังเกตเห็นปรากฏการณ์แสงโลก (Earth Shine) ที่เกิดจากแสงอาทิตย์สะท้อนผิวโลกไปยังดวงจันทร์ และสะท้อนกลับมายังผู้สังเกตบนโลกอีกต่อหนึ่ง ทำให้เห็นแสงจาง ๆ จากด้านมืดของดวงจันทร์ ซึ่งจะสังเกตได้ดีในช่วงที่เป็นจันทร์เสี้ยว เป็นอีกปรากฎการณ์หนึ่งที่เราสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าในช่วงดังกล่าวเช่นกัน ดร.ศรัณย์ กล่าวปิดท้าย



ภาพถ่ายปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือนที่มีลักษณะคล้ายดวงจันทร์ยิ้มเหนือฟ้าเมืองไทยเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2551
โดย ศุภฤกษ์ คฤหานนท์

 
ภาพถ่ายปรากฏการณ์แสงโลก (Earth Shine) 
โดย ดร.ศรัณย์  โปษยะจินดา

กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
โทร. 053-225569 ต่อ 210 , 081-8854353 โทรสาร 053-225524 
E-mail: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน     Website : www.narit.or.th
Facebook : www.facebook.com/NARITpage
Twitter : @N_Earth ,  Instagram : @NongEarthNARIT
Call Center กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร.1313
 
เผยแพร่ข่าว : นางสาวศิริลักษณ์ สิกขะบูรณะ
กลุ่มงานประชาสัมพันธ์
สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3727 - 3732  โทรสาร 0 2333 3834
e-mail :     อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
Facebook : sciencethailand
 

 

 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
» ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ดาวอังคารใกล้โลกที่สุดในรอบ 11 ปี 21 พฤษภาคม 2559
» สดร.โชว์ความก้าวหน้าดาราศาสตร์ไทย วันวสันตวิษุวัต 19 มีนาคม 2559
» ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ มอบรางวัลการประกวดภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ ประจำปี 2558
» รายการ "เดินหน้าประเทศไทย" 24 พฤษภาคม 2558
» เด็กลาวม่วนซื่น ตื่นตาตื่นใจดาราศาสตร์ แห่ชมอุกกาบาต ในงานคาราวานวิทย์ฯ ลาว-ไทย ล้นหลาม
» สดร. ดันเครือข่ายสู่ ASEAN COST หวังประเทศสมาชิกร่วมขับเคลื่อนดาราศาสตร์อาเซียน
» สดร. จัดเวิร์คช็อปเสริมแกร่งเครือข่ายดาราศาสตร์อาเซียน หวังผลักดันดาราศาสตร์เข้าที่ประชุม ASEAN COST
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป