กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก

สดร. ดันเครือข่ายสู่ ASEAN COST หวังประเทศสมาชิกร่วมขับเคลื่อนดาราศาสตร์อาเซียน

พิมพ์ PDF

 
     กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) ผลักดันเครือข่ายดาราศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เข้าที่ประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 69 หวังใช้กลไกของ ASEAN COST เป็นแรงขับเคลื่อนวงการดาราศาสตร์ของภูมิภาคนี้ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น
 
 
     รองศาสตราจารย์บุญรักษา สุนทรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ประธานเครือข่ายดาราศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Astronomy Network: SEAAN) เปิดเผยว่า ปีนี้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 69 (The 69th ASEAN Committee on Science and Technology Meeting: ASEAN COST) เราจึงมีโอกาสนำเสนอการดำเนินงานของเครือข่ายดาราศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในที่ประชุมฯ เพื่อผลักดันดาราศาสตร์ให้ได้รับการยอมรับในการประชุมระดับนานาชาติ ที่ประชุมเห็นชอบให้นำเครือข่ายดาราศาสตร์อาเซียน เข้าสู่ที่ประชุมคณะอนุกรรมการความร่วมมือด้านการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศ เพื่อนำไปสู่การพิจารณาให้การรับรองต่อไป หลังจากการรับรองแล้วจะนำไปสู่ความร่วมมือด้านดาราศาสตร์ระดับภูมิภาคอาเซียน อาทิ เป็นคณะอนุกรรมการในการประชุม ASEAN COST ซึ่งการประชุม SEAAN ครั้งต่อไป จะเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมย่อยใน ASEAN COST  ด้วย นอกจากนี้ยังจะมีการจัดกิจกรรมทางดาราศาสตร์ในประเทศสมาชิกสมาคมอาเซียนอย่างกว้างขวาง ได้รับการสนับสนุนงบประมาณด้านงานวิจัยเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดาราศาสตร์ ฯลฯ นับเป็นก้าวย่างสำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านดาราศาสตร์ จะทำให้เครือข่ายการพัฒนาดาราศาสตร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้มแข็งยิ่งขึ้น โดยมีกลไกของ ASEAN COST เป็นแรงขับเคลื่อนอีกทางหนึ่ง
 

นอกเหนือไปจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดาราศาสตร์แต่ละประเทศ เช่น กล้องโทรทรรศน์ กล้องโทรทรรศน์วิทยุ ที่ทางเครือข่ายดาราศาสตร์อาเซียนกำลังพัฒนา สิ่งสำคัญที่สุดคือ การพัฒนาศักยภาพของกำลังคนด้านดาราศาสตร์ ให้มีมาตรฐานทัดเทียมกับระดับสากล เราต้องการเห็นศักยภาพของนักวิชาการ นักวิจัย ประชาชน และเยาวชน ที่มีความรู้ และสนใจด้านดาราศาสตร์  เครื่องมือเป็นสิ่งสำคัญ แต่เหนือสิ่งอื่นใดแล้ว การพัฒนากำลังคนด้านดาราศาสตร์ก็เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน 
 
     เครือข่ายดาราศาสตร์เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAAN) ก่อตั้งเมื่อครั้งการประชุมใหญ่สมัยสามัญของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (International Astronomical Union: IAU) ครั้งที่ 26 ณ กรุงปราก สาธารณเช็ก เมื่อ พ.ศ. 2549 มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ประกอบด้วย บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย กำหนดให้มีการประชุมทุกปี โดยประเทศสมาชิกผลัดกันเป็นเจ้าภาพ ครั้งล่าสุดจัดขึ้น ณ สถาบันเทคโนโลยีริซัล สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ครั้งถัดไปประเทศไทยเป็นเจ้าภาพประมาณเดือนธันวาคม 2558 ที่จังหวัดเชียงใหม่
 
     การประชุม ASEAN COST ครั้งนี้ จัดขึ้นโดยหวังผลักดันให้เกิดการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาในภูมิภาคอาเซียน โดยมีตัวแทนรัฐบาล 10 ประเทศอาเซียน ประกอบด้วย บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย เข้าร่วมประชุมใน 8 สาขา ประกอบด้วย ความมั่นคงทางพลังงาน ความมั่นคงทางอาหาร ความหลากหลายทางชีวภาพ สังคมดิจิทัลนวัตกรรมอาเซียนเพื่อการค้า การบริหารจัดการน้ำการส่งเสริมเยาวชนและนวัตกรรมสีเขียว เพื่อให้เกิดความร่วมมือมีการสร้างเครือข่ายและโครงการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของทั้งภาคราชการและภาคเอกชนตลอดจนเพื่อให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม พร้อมยกระดับความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศสมาชิกอาเซียน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 28-29 พฤษภาคม 2558 ณ โรงแรมเมอเวนพิค รีสอร์ท แอนด์ สปา กะรนบีช จังหวัดภูเก็ต

กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
โทร. 053-225569 ต่อ 210 , 081-8854353 โทรสาร 053-225524 
E-mail: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน     Website : www.narit.or.th
Facebook : www.facebook.com/NARITpage
Twitter : @N_Earth ,  Instagram : @NongEarthNARIT
Call Center กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร.1313
 
เผยแพร่ข่าว : นางสาวศิริลักษณ์ สิกขะบูรณะ
กลุ่มงานประชาสัมพันธ์
สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3727 - 3732  โทรสาร 0 2333 3834
e-mail :     อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
Facebook : sciencethailand 
 
 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป