กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก

กระทรวงวิทย์ฯ หนุนพัฒนาเครือข่ายส่งเสริมศักยภาพสินค้าวิสาหกิจชุมชนภาคใต้

พิมพ์ PDF

         กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีลงสู่ชุมชน ภายใต้แนวทางการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยมอบ วศ. ประสานความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และเครือข่ายผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน OTOP ภาคใต้ พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชน OTOP  ให้สามารถยกระดับคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้า

         ดร.พีระพันธุ์  พาลุสุข  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มีนโยบายนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีลงสู่ชุมชน และมอบหมายให้กรมวิทยาศาสตร์บริการ(วศ.) นำกลไกด้านวิทยาศาสตร์ไปพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยสินค้า OTOP เนื่องจากในปัจจุบันสินค้า OTOP มีมากมาย หลากหลายประเภท ทั้งอาหาร เครื่องดื่ม สินค้าเพื่อสุขภาพ มีเอกลักษณ์ท้องถิ่นที่นักท่องเที่ยวนิยมซื้อเป็นของฝาก ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน

         นางสาวเสาวณี  มุสิแดง  อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ  กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2557 นี้ได้เริ่มต้นนำทีมนักวิทยาศาสตร์กรมลงพื้นที่ภาคใต้ โดยจะจัดประชุมร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และเครือข่ายผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน OTOP  ผู้แทนจากศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรเพื่อการส่งออก สมาคมที่ปรึกษาภาคใต้    ระหว่างวันที่ 19-20 ตุลาคม พ.ศ. 2556  จังหวัดสงขลา มุ่งพัฒนาเครือข่ายความร่วมมืออย่างต่อเนื่องเสริมสร้างขีดความสามารถการแข่งขันและพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนให้สามารถยกระดับคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้า OTOP  รวมทั้งจะเยี่ยมชมผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน OTOP ระดับ ๕ ดาว ที่ประสบความสำเร็จของจังหวัดพัทลุง ได้แก่ โรงงานต้นแบบ และห้องปฏิบัติการทดสอบเคมีและจุลชีววิทยา  ของคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ OTOP   โรงงานผลิตบ้านไทยเฮิร์บ ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มพร้อมชงเพื่อสุขภาพจากจมูกข้าวสังข์หยด  โรงงานผลิตหมูทองท่าแค ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์น้ำพริกสำเร็จรูป ขนมขบเคี้ยว  ทองม้วน    เพื่อหาแนวทางหรือต้นแบบในการพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนรายอื่นๆ 

         ทั้งนี้ที่ผ่านมากรมวิทยาศาสตร์บริการได้ลงพื้นที่ทั้ง 4 ภาค พื้นที่นำร่องกว่า 34 จังหวัด พบข้อเท็จจริงว่าสินค้า OTOP ที่ส่งขอมาตรฐานที่ สมอ. หรือ อย. มีสินค้าเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่ผ่านมาตรฐาน  สินค้าส่วนที่ไม่ได้มาตรฐานบางอย่างใช้กรรมวิธีการผลิตสืบทอดต่อกันมา ทำให้มีปัญหาคุณภาพสินค้าในการผลิตแต่ละรอบมีคุณภาพไม่คงที่ และไม่ได้มาตรฐานด้านสุขอนามัยและความปลอดภัย บางแห่งยังไม่มีการใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในกระบวนการผลิตทำให้สินค้ามีการปนเปื้อน   การลงพื้นที่พัฒนาเครือข่ายจะเป็นการนำกลไกด้านวิทยาศาสตร์ไปพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยสินค้า OTOP  มุ่งช่วยแก้ปัญหาให้กับสินค้าที่ไม่ผ่านมาตรฐานที่เหลืออีกกว่าร้อยละ 80  โดยจะช่วยพัฒนากระบวนการผลิตทำให้สามารถยกระดับคุณภาพและสร้างความเชื่อมั่นในสินค้า สามารถยื่นขอการรับรองมาตรฐาน มผช. หรือ อย. ได้อย่างจริงจัง  ภายใต้แนวทางการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นและภาคส่วนต่าง ๆโดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และเครือข่ายผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน OTOP ภาคใต้  ซึ่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เป็นหน่วยงานที่มีศักยภาพและมีผลงานด้านการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน มีความพร้อมของห้องปฏิบัติการทดสอบเคมีและจุลชีววิทยาที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน รวมทั้งเป็นห้องปฏิบัติการเครือข่ายที่เข้าร่วมกิจกรรมทดสอบความชำนาญกับกรมวิทยาศาสตร์บริการอย่างต่อเนื่อง และมีโรงงานต้นแบบ ที่มีเครื่องจักรทันสมัย มีการออกแบบตามหลักสุขลักษณะที่ดีในการผลิต (Good Manufacturing Practice; GMP) พร้อมทั้งมีบุคลากรที่มีทักษะในการผลิตตามหลัก GMP และมาตรฐานฮาลาล  มีความพร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงให้แก่ผู้ประกอบการที่สนใจ รวมทั้งมีโรงงานผลิตอาหารต้นแบบที่สามารถเช่าใช้พื้นที่เพื่อทดลองผลิตก่อนการตั้งโรงงานผลิตจริง นอกจากนี้ยังให้การช่วยเหลือที่ครบวงจรโดยมีศูนย์ออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ให้บริการออกแบบบรรจุภัณฑ์ พร้อมฉลาก ด้วย
 

----------------------------------------------------------------------------------------


ที่มา :  ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ  โทร 0 2201 7097 – 8  Call  Center 0 2201 7555
 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป