กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก

“ก.วิทย์” จับมือ มทส. และ มธ. วิจัยแก้โรคใบไหม้ในมันสำปะหลัง เพิ่มขีดความสามารถการส่งออกมันสำปะหลังข

พิมพ์ PDF

            นครราชสีมา - สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คิดค้นใช้เชื้อแบคทีเรีย สร้างภูมิต้านทานโรคใบไหม้ในมันสำปะหลัง ช่วยเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง ลดการใช้สารเคมี สร้างรายได้ให้เกษตรกร
            ศาสตราจารย์ นาวาอากาศโท ดร.สราวุฒิ สุจิตจร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน กล่าวว่า “มันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญเป็นอันดับ 4 ของประเทศ ซึ่งจุดเด่นของมันสำปะหลังในด้านการค้าของตลาดโลก คือเป็นพืชไร่ที่มีกระบวนการผลิตที่สะอาดจนเป็นที่ยอมรับว่าเป็นสินค้าสีเขียว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังส่งออกที่สำคัญ คือ มันอัดเม็ด มันเส้น และแป้ง แต่ปัญหาที่พบในการปลูกมันสำปะหลัง เป็นโรคและถูกรบกวนจากแมลงศัตรูพืช โดยเฉพาะโรคใบไหม้ อาการของโรคเริ่มแรกใบจะมีจุดเหลี่ยม ฉ่ำน้ำ ใบไหม้ เหี่ยวและจะหลุดร่วงในที่สุด เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง เข้าทำลายและแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วในช่วงหน้าฝน มีแนวโน้มการระบาดมากขึ้นในประเทศไทย  ซึ่งเกษตรกรยังไม่ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นเท่าที่ควร หากพบก็จะนิยมใช้สารเคมีกำจัดโรค ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นอันตรายต่อเกษตรกรและผู้บริโภค รวมถึงเกิดโรคดื้อสารเคมีด้วย ล่าสุดจากผลการวิจัยระหว่าง สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ค้นพบการนำท่อนพันธุ์มันสำปะหลังไปแช่ในเชื้อแบคทีเรียบาซิลัส อไมโลไลเควฟาเซียน  (Bacillus amyloliquefaciens) ปรากฏว่าสามารถทำให้มันสำปะหลังต่อต้านเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคใบไหม้ได้ นอกจากนั้นยังทำให้ ราก ลำต้น และยอดมันสำปะหลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วอีกด้วย”
            ด้าน ดร.ณัฐธิญา เบือนสันเทียะ อาจารย์และนักวิจัย สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร และศูนย์วิจัยมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี กล่าวเพิ่มเติมว่า “จากการวิเคราะห์เซลล์ของใบมันสำปะหลัง โดยใช้แสงอินฟราเรด สามารถบอกความแตกต่างของใบมันสำปะหลัง ระหว่างก่อนและหลังการชุบท่อนพันธุ์ด้วยแบคทีเรีย พบว่าเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวยังช่วยทำให้ปุ๋ยหรือธาตุอาหารที่สะสมอยู่ในดินเปลี่ยนเป็นสารอาหารที่พืชสามารถดูดนำไปใช้ได้ ส่งผลให้มันสำปะหลังเจริญเติบโตและแข็งแรง เป็นการเพิ่มปริมาณผลผลิตและแป้งของมันสำปะหลัง”
            “ทั้งนี้ผลการศึกษาดังกล่าวถือเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยี การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง หลังจากนี้ทางสถาบันจะนำผลการวิจัยไปเผยแพร่ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ลดการใช้สารเคมีปราบศัตรูพืชที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค เป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันการส่งออกมันสำปะหลังของไทย”
 

ลักษณะอาการของโรคใบไหม้มันสำปะหลัง เริ่มแรกแสดงอาการใบจุดเหลี่ยม ฉ่ำน้ำ ใบไหม้ เหี่ยวและจะหลุดร่วงในที่สุด
(ซ้าย) หัวมันสำปะหลังอายุ 6 เดือน ที่ผ่านการแช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูกด้วยเชื้อแบคทีเรียที่มีประโยชน์ สามารถกระตุ้นให้ต้นมันสำปะหลังมีการเจริญเติบโตดีและเพิ่มปริมาณจำนวนหัว มันสำปะหลัง รวมทั้งชักนำภูมิต้านทานพืชต่อการเข้าทำลายของเชื้อสาเหตุโรคใบไหม้มัน สำปะหลัง (ขวา) หัวมันสำปะหลังที่ไม่ผ่านการแช่ท่อนพันธุ์ พบว่า หัวไม่ดก การเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ และอ่อนแอต่อการเข้าทำลายของโรคใบไหม้มันสำปะหลัง





ผู้เขียนข่าว   น.ส.กุลธิดา พิทยาภรณ์ 
เบอร์โทรศัพท์ 0-4421-7040 ต่อ 1251-2 โทรสาร 0-4421-7047
อีเมลล์: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน , อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป