กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก

ประวัติ และผลงาน นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์

พิมพ์ PDF


นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์
รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

ตำแหน่งปัจจุบัน
     • เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ

เกิดวันที่ 7 กันยายน 2498

การศึกษา

     • ปริญญาเอก นโยบายและการจัดการสาธารณะ (Public Policy and Management),   Wharton School, University of Pennsylvania, ประเทศสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2529 - 2534) Dissertation Topic “Effects of Rate of Return and Environmental Regulations on the Productivity Performance in the U.S. Electric Utility Industry”
     • ปริญญาโท นโยบายและการจัดการสาธารณะ (Public Policy and Management),   Wharton School, University of Pennsylvania, ประเทศสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2527 - 2529)
     • ปริญญาโท วิทยาการพลังงานแสงอาทิตย์ (Applied Solar Energy), Trinity University, Texas, ประเทศสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2525 - 2527) Thesis Topic “Estimating the Performance of a Photovoltaic Pumping System”
     • ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์สาขาไฟฟ้า (Electrical Engineering), University of New South Wales, ประเทศออสเตรเลีย (พ.ศ. 2517 - 2522)

ประสบการณ์การทำงาน

     • บริหารและขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระดับประเทศของคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ  รวมทั้งคณะอนุกรรมการอีก 9 ชุดซึ่งรวมด้านนโยบาย, กำลังคน, การประชาสัมพันธ์, การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา, กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ, โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ, อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์, การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในภาครัฐและเทคโนโลยีเพื่อการค้าระหว่างประเทศ (EDI)  ในกระบวนการขับเคลื่อนได้ร่วมผลักดันโครงการใหญ่ของประเทศ เช่น SchoolNet, Government Information Network, Software Park, R&D Tax Incentive, Government Computer Training, Chief Information Officer, IT-Year, IT Laws, รวมทั้งการส่งเสริมเทคโนโลยีในผู้ด้อยโอกาสและท้องถิ่นต่าง ๆ เป็นต้น
     • ในฐานะประธานของอาเซียนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระหว่างปีพ.ศ. 2544 - 2546 (e-ASEAN Working Group) ได้ผลักดันและประสานกิจการทางด้านการพัฒนาและความร่วมมือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตามนโยบายของผู้นำทั้ง 10 ประเทศภายใต้กรอบความร่วมมือ     e-ASEAN Framework Agreement โดยกำกับดูแลการทำงานของคณะทำงาน 5 ด้าน ประกอบด้วย ASEAN Information Infrastructure, Electronic Commerce, ICT Trade Facilitation, Electronic Government, และ Capacity Building เป็นเวลา 2 ปี  และริเริ่มการจัดทำ Strategic Plan ของกลุ่มเป็นผลทำให้โครงการได้ขยายตัวออกเป็น Telecom Ministerial Meeting และ e-ASEAN ที่ดูแลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  นอกจากนี้ยังมีประสบการณ์ในเวทีระหว่างประเทศ เช่น เป็นผู้ร่วมคณะตัวแทนประเทศไทยในการประชุม APEC Telecom Working Group, จัดการประชุมระดมสมองเพื่อหาแนวทางในการเจรจา WTO ในประเด็น Information Technology Agreement      เป็นต้น
     • มีบทบาทในการจัดทำนโยบายสำคัญ ๆ ในระดับชาติ ทั้งในฐานะเป็นผู้ร่วมจัดทำและหัวหน้าคณะจัดทำ  รวมถึงนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้ง 3 ฉบับ (IT-2000, IT-2010, IT-2020);            เป็นผู้ยกร่างนโยบายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์; เป็นกำลังสำคัญในการจัดทำแผนอุดมศึกษาระยะยาวฉบับล่าสุด  ทั้งหมดนี้ได้เข้าร่วมชี้แจงและผ่านความเห็นชอบในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี  นอกจากนี้ยังมีผลงานในการจัดทำนโยบายและแผนในระดับอื่น เช่น นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศมัลดิฟส์ โดยความสนับสนุนของ United Nations Development Programme  ทั้งหมดนี้ได้ดำเนินงานในฐานะนักวิจัย นอกเหนือจากการบริหารโครงการ  โดยมีเป้าหมายที่สำคัญคือการจัดทำนโยบายที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงปฏิบัติ
     • มีประสบการณ์ในการบริหารองค์กร  รวมถึง สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ, สถาบันคลังสมองของชาติ, บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม และศูนย์นวัตกรรมนโยบาย  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี,  สำนักงานอี-อาเซียน,  ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น  ซึ่งนอกจากภารกิจอื่น ๆ ในขณะดำรงตำแหน่งแล้ว ยังเป็นผู้บรรยายนำและผู้บรรยายในงานต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง  เพื่อสร้างความตระหนัก ความเข้าใจ ความร่วมมือ และการขับเคลื่อนที่นำนโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
     • ภารกิจที่หลากหลายในองค์กรต่าง ๆ ที่ได้บริหารมานั้น รวมถึงการบริหารงานวิจัยในฐานะเจ้าของโครงการและผู้ว่าจ้าง  และมีประสบการณ์ในการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อให้ได้ผลงานที่ใช้ประโยชน์ได้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

     • ตริตาภรณ์ มงกุฎไทย    5 ธันวาคม 2535
     • จัตุรถาภรณ ช้างเผือก    5 ธันวาคม 2528 

รางวัล

     • Research Fellowship, Wharton School, University of Pennsylvania.
     • Research Fellowship, Trinity University.
     • Colombo Plan Scholarship to the University of New South Wales.

ประวัติการบริหารงาน
     • เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) พ.ศ. 2552 – 2557
     • ประธานคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2557
     • ผู้อำนวยการสถาบันคลังสมองของชาติ พ.ศ. 2546 – 2552
     • ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมนโยบาย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พ.ศ. 2547 - 2548
     • ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2542 - 2544
     • ผู้อำนวยการสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ พ.ศ. 2536 - 2540

กรรมการโดยตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ

     • กรรมการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลโครงการสนับสนุนนักเรียนทุนรัฐบาลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
     • กรรมการพัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย
     • กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ
     • กรรมการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
     • กรรมการบริหารสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) สสนก.
     • กรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
     • กรรมการมาตรวิทยาแห่งชาติ
     • กรรมการนโยบายโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) สกว.
     • กรรมการอำนวยการและบริหาร โครงการจัดตั้งศูนย์ความรู้เฉพาะด้าน "ศูนย์จัดการความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ"  ทปษ.
     • อนุกรรมการยุทธศาสตร์การสร้างเศรษฐกิจฐานความรู้ และการสร้างปัจจัยแวดล้อม
     • กรรมการอำนวยการโครงการจัดตั้งโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์
     • กรรมการพิจารณาแนวทางการถ่ายทอดเทคโนโลยีรถไฟฟ้าสู้อุตสาหกรรมไทย
     • กรรมการประชาสัมพันธ์ วท.
     • กรรมการแผนยุทธศาสตร์และชีวเวชศาสตร์
     • กรรมการร่วมระหว่าง ปตท. และหน่วยงานนอก
     • กรรมการดำเนินการถวายผ้าพระกฐินพระราชทานของ วท.
     • อนุกรรมการการส่งเสริมการบ่มเพาะวิสาหกิจและการจัดการทรัพย์สินทางปัญญาในสถาบันอุดมศึกษา
     • กรรมการมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
     • กรรมการพัฒนาจังหวัดด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
     • กรรมการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลโครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.) ระยะที่ 2
     • รองประธานกรรมการกำกับการศึกษาโครงการศึกษาแนวทางการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัยของประเทศภายใต้โครงการศึกษาวิจัย และติดตามประเมินผล เพื่อเสนอแนะนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
     • กรรมการประสานงานหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
     • กรรมการปฏิรูปโครงสร้างระบบราชการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

กรรมการโดยชื่อ นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์

     • กรรมการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

  

ที่มา :  งานประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสำนักงานรัฐมนตรี

 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป