นโยบายการดําเนินงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย
ผู้บัญชาการทหารเรือ หัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา
เมื่อวันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม 2557
ณ ห้องประชุมชั้น4 อาคารพระจอมเกล้า
สํานักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
……………………………………………………………………………………
ความสําคัญของงานด้าน วทน. ที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการพัฒนาศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ ทั้งการพัฒนาในภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม รวมทั้งการสร้างนักวิทยาศาสตร์และผู้มีความรู้ความชํานาญพิเศษ เพื่อมานํามาใช้ขับเคลื่อนงานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และการสร้างนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ใหม่ๆ ตลอดจนการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงองค์ความรู้ด้าน วทน. ให้กับประชาชนทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งเป็นองค์ประกอบสําคัญในการสร้างศักยภาพเชิงการแข่งขันของประเทศ ดังนั้น การดําเนินงานของกระทรวงให้เป็นไปตามแนวทางการพัฒนาที่กระทรวงวางไว้ โดยมุ่งเน้นและให้ความสําคัญ ดังนี้
1. ขอให้เน้นแผนงาน/โครงการระยะยาว ที่ก่อหนี้ผูกพัน ระยะเวลา3-5 ปี ขอให้ทบทวนแผนงาน/โครงการ(ที่ไม่คุ้มค่า ไม่ตอบสนองการพัฒนา) ให้มีความเหมาะสม รวมทั้งปรับปรุงแนวทางและเป้าหมายให้ทันสมัย และกําหนดดัชนีชี้วัดทาง ว. และ ท. ที่สะท้อนความสําเร็จ และขยายบทบาทการสนับสนุนภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคเป้าหมายอื่นๆ โดยเชื่อมโยงกับตัวเลขการพัฒนาระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
2. แผนงาน/โครงการระยะสั้นและระยะปานกลางของปีงบประมาณ พ.ศ.2557 -2558 ต้องสอดคล้องกับนโยบายระยะยาว ขอให้พิจารณาปรับปรุงให้สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยให้ความสําคัญกับการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนที่หากไม่ดําเนินการจะส่งผลกระทบต่อกระบวนการ ว. และ ท. ตอบสนองความต้องการของประชาชนและกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งแผนงาน/โครงการเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
ทั้งนี้ หากแผนงาน/โครงการที่เสนอของบประมาณไปแล้ว ไม่สอดคล้องกับความต้องการของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือไม่คุ้มค่า หรืออาจดําเนินการตามเหตุผลทางการเมือง ขอให้หน่วยงานทบทวนแผนงาน/โครงการ ด้วย
3. การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมต้องสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศโดยรวม สอดคล้องกับความต้องการและการพัฒนาของภาคส่วนต่างๆ และมุ่งสู่สายการผลิตหรือการนําไปใช้ประโยชน์ให้ได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อลดการนําเข้าและประหยัดเงินตราของประเทศ สร้างและขยายเครือข่ายงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีออกไปอย่างกว้างขวาง เพื่อแสวงโอกาสของความร่วมมือในการดําเนินโครงการวิจัยร่วมกับหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ พัฒนาระบบมาตรฐานคุณภาพงานวิจัยทาง วทน. ให้ทัดเทียมกับสากล ตลอดจนให้บริการด้าน ว. และ ท. อย่างทั่วถึงโดยที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาจเป็นหน่วยงานเริ่มต้น แล้วต่อยอดไปกระทรวงอื่นๆและเป็นตัวเร่งการพัฒนาขององค์กรอื่นๆ ให้เกิดมูลค่าเพิ่ม สร้างนวัตกรรมให้เพิ่มขึ้น
………………………………………………………………………..
ที่มา สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สํานักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (31 พ.ค. 2557)